Previous Next

มายฌาปนกิจ ช่วยท่านวางแผนปลายทางชีวิต...
บอกกับคนไกล้ชิดว่าคุณได้ฝากอะไรถึงเขาบ้าง

รูปภาพ

บันทึกข้อมูลส่วนตัว

สร้างบันทึกข้อมูลส่วนตัว
และครอบครัวของท่าน
รูปภาพ

บันทึกความทรงจำที่ดี

เก็บบันทึกความทรงจำดีๆ
ทั้งข้อความและรูปภาพ
รูปภาพ

การบริจาคร่างกาย/อวัยวะ

บันทึกข้อมูลบริจาคร่างกาย
หรืออวัยวะ
รูปภาพ

บริจาคโลหิต

บันทึกข้อมูล
การบริจาคโลหิต
รูปภาพ

ผลประโยชน์ประกันชีวิต

ข้อมูลฌาปนกิจสงเคราะห์
และประกันชีวิต ประกันสังคม
รูปภาพ

ชีวประวัติ/หนังสืออนุสรณ์

พิมหนังสืออนุสรณ์ในรูปแบบ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
รูปภาพ

สร้างเพจให้กับคนที่ท่านรัก

สร้างเพจให้กับคนที่ท่านรัก
หรือเพื่อรำลึกถึงผู้ที่จากไป
รูปภาพ

รายชื่อครอบครัว/เพื่อน

สร้างกลุ่มรายชื่อเพื่อแจ้งข่าว
หากท่านหรือญาติเสียชีวิต

สมัครสมาชิก และเปิดใช้บริการได้‘ฟรี’

สมัครสมาชิก

1.เมื่อมีญาติพี่น้องท่านเสียชีวิต
- หากถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาท ทางโรงพยาบาลจะออกใบมรณบัตรให้
- หากถึงแก่กรรมที่บ้าน ต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบรับรองการตาย
- ถึงแก่กรรมเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือ ถูกฆาตกรรมจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาชันสูตรศพ เพื่อทำหลักฐานการเสียชีวิต ภายในเวลา 24 ชั่งโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ
2. ตรวจสอบการบริจาคอวัยวะของผู้ตาย และติดต่อศูนย์บริจาค
3. รับศพไปวัด หรือ ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้าน แจ้งงานกำหนดงานพิธีศพ ให้ครอบครัว ญาติ และเพื่อน
4. ตรวจสอบข้อมูลประกัน มรดก ฌาปณกิจสงเคราะห์ ผลประโยชน์หลังเสียชีวิต
5. การฌาปนกิจศพ ได้แก่ การปลงศพ หรือ เผาศพ
6. การเก็บอัฐิ
7. ลอยอังคาร

ขั้นตอนที่ 1 กรอกข้อมูลผู้เสียชีวิต
กรอก ชื่อ-นามสกุล วันเสียชีวิต (มรณะ) วันเกิด (ชาตะ)
ขั้นตอนที่ 2 บันทึกข้อมูลสถานที่ และ กําหนดการจัดพิธีศพ
กรอก สถานที่จัดงาน: (ชื่อวัด หรือสถานที่) จังหวัด เขต/อำเภอ
ข้อมูลกำหนดการงานพิธีศพ เช่น รดน้ำศพ สวดพระอภิธรรม ทำบุญ ณ วันฌาปนกิจ
ขั้นตอนที่ 3 กรอกข้อมูลผู้ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์
ขั้นตอนที่ 4 ละเอียดประกาศงานพิธีในรูปแบบe-card
สามารถกดแชร์ไปยังสังคมออนไลน์ และสามารถให้ผู้อื่นมาร่วมแสดงความเสียใจ
ขั้นตอนที่ 5 กรอกเลขที่บัญชี ธนาคาร สำหรับให้คนที่ต้องการบริจาคช่วยเหลืองานพิธี
ข้อมูลการบริจาคเงินที่ช่วยงานพิธี จะถูกบันทึกลงใน สุคติเมมโมรี่
แจ้งข่าวงานศพ และสร้างการ์ด คลิก

การบริจาคร่างกายนั้นสามารถทำได้ตั้งแต่ในขณะที่มีชีวิตอยู่ การบริจาคร่างกายจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ตามวัตถุประสงค์ในการนำร่างกายไปใช้โดยจะเน้นไปที่การศึกษาเป็นหลัก มีดังนี้
1. การบริจาคร่างกายเพื่อใช้ในการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ การบริจาคประเภทนี้จะเป็นการบริจาคที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นำไปใช้ในการศึกษาของนักศึกษาแพทย์สาขาวิชาต่าง ๆ หรือนำไปจัดทำพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์เพื่อการศึกษาต่อไป
2. การบริจาคร่างกายเพื่อใช้ในการฝึกผ่าตัดสำหรับแพทย์เฉพาะทาง เป็นการบริจาคร่างกายเพื่อให้แพทย์เฉพาะทางฝึกความชำนาญในการผ่าตัด
3. บริจาคเพื่อให้เก็บโครงกระดูกเพื่อใช้ในการศึกษา คือการบริจาคที่มีจุดประสงค์เพื่อเพียงเก็บโครงกระดูกไว้ใช้ในการศึกษาเท่านั้น

การบริจาคร่างกายสามารถทำได้ทุกคน เนื่องจากไม่มีการตรวจสุขภาพ โดยผู้ที่จะบริจาคจะต้องมีอายุตั้งแต่ 17 ปี ขึ้นไป และหากอายุต่ำกว่า 20 ปี จะต้องได้รับความยินจากผู้ปกครองตามกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรจึงจะสามารถบริจาคได้แต่ทั้งนี้ในบางกรณีญาติอาจคัดค้านการบริจาคร่างกายได้ ซึ่งถือเป็นสิทธิ์ที่พึงกระทำได้ แต่ถ้าหากผู้บริจาคมีความตั้งใจจริงในการบริจาคก็อาจทำพินัยกรรมมอบร่างกายให้แก่หน่วยงานที่บริจาคร่างกายไว้ได้

1. ร่างกายแข็งแรง หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าสุขภาพโดยรวมของผู้บริจาคเลือดดีกว่าคนที่ไม่เคยบริจาคเลือด เลือดที่เสียไปจะไม่เป็นผลเสียต่อร่างกายของเราเลย ซ้ำยังทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงตามมาอีกด้วย
2. ห่างไกลมะเร็ง ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริจาคเลือดมีแนวโน้มจะมีอายุยืน หรือมีโอกาสตายจากโรคต่างๆ น้อยกว่าผู้ที่ไม่บริจาคเลือด นอกจากนี้การบริจาคเลือดมีส่วนลดความเสี่ยงจากมะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งคอหอย ในผู้บริจาคเลือด
3. ผิวดี หน้าใส ออร่าเปล่งประกาย วิ้งๆ สาวๆ หลายคนมีความเชื่อกันแบบผิดๆ ว่า ถ้าเราไปบริจาคเลือด ต้องอ้วนขึ้นแน่ๆ เลย ตัดความเชื่อแบบผิดๆ นี้ออกไปจากสมองเราได้เลย จริงๆ แล้วการบริจาคเลือดไม่ได้ทำให้อ้วน แต่กลับทำให้ผู้บริจาคมีรูปร่างที่ดีขึ้น หุ่นเพรียวยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล และยังช่วยให้หน้าใส เปล่งประกาย วิ้งๆ แบบไม่ต้องพึ่งการฉีด หรือการกินวิตามินคอลลาเจนต่างๆ กันเลย ง่ายๆ แค่บริจาคเลือดก็ทำให้มีผิวพรรณสดใสได้เหมือนกัน
4. จิตใจดี รู้สึกดี การบริจาคเลือด จะให้ความรู้สึกดี ความรู้สึกว่าเป็นผู้ให้ ได้ทำทาน ได้ช่วยชีวิตคน ทำให้เรารู้สึกสุขใจเพราะได้ช่วยชีวิตผู้อื่นด้วย

ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรืออยู่ในภาวะสุขภาพที่ไม่ปกติ เป็นกลุ่มที่ไม่ควรบริจาคเลือด เนื่องจากเลือดที่ได้จะไม่สามารถใช้ได้ และอาจส่งผลต่อผู้บริจาคอีกด้วย ผู้ที่เคยบริจาคเลือด หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลือดมาก่อนและยังไม่ถึงกำหนดการบริจาคครั้งใหม่ไม่ควรบริจาคเลือดในทันที โดยผู้ที่บริจาคเลือดจะต้องทิ้งระยะห่าง 12 สัปดาห์ หากบริจาคพลาสม่าจะสามารถบริจาคได้ใหม่ทุก ๆ 14 วัน ส่วนผู้ที่บริจาคเพียงเม็ดเลือดแดงจะต้องรออย่างน้อย 16 สัปดาห์จึงจะบริจาคใหม่ได้

โดยทั่วไปแล้วสามารถบริจาคเลือดได้ที่หน่วยบริจาคเลือดตามสถานพยาบาลและหน่วยเคลื่อนที่ที่รับบริจาคของสภากาชาดไทย ซึ่งในการบริจาคเลือดไม่ว่าจะเป็นในสถานพยาบาลหรือนอกสถานที่จะมีขั้นตอนที่เหมือนกันดังนี้

กรอกแบบฟอร์มผู้บริจาคเลือด
โดยต้องกรอกข้อมูลตามความจริงเพื่อให้เลือดที่บริจาคมีคุณภาพและปลอดภัยที่สุด นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของผู้บริจาคต่อผลข้างเคียงที่จะได้รับจากการบริจาค และช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น ในขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่จะนำน้ำหนักที่ได้จากการกรอกข้อมูลมาคำนวณหาปริมาณเลือดที่แต่ละคนสามารถบริจาคได้ โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้
น้ำหนักต่ำกว่า 45 กิโลกรัม ไม่สามารถบริจาคเลือดได้
น้ำหนักตั้งแต่ 45-50 กิโลกรัม สามารถบริจาคเลือดได้ 350 มิลลิลิตร
น้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป สามารถบริจาคเลือดได้ 450 มิลลิลิตร
ตรวจสุขภาพและซักประวัติ

แพทย์จะทำการตรวจสุขภาพ เช่น วัดความดันโลหิต หรือตรวจดูความเข้มข้นของเลือด อีกทั้งยังมีการซักประวัติทางด้านสุขภาพ และถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่ค่อนข้างเป็นการส่วนตัว เพื่อช่วยคัดกรองผู้บริจาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขั้นตอนนี้ ผู้บริจาคจะต้องตอบตามความจริง และไม่เขินอายที่จะตอบคำถามเหล่านี้
บริจาคเลือด

เมื่อผ่านการคัดกรองว่าสามารถบริจาคเลือดได้ ผู้บริจาคจะถูกพาไปนั่งที่เก้าอี้หรือเตียงสำหรับบริจาคเลือด ซึ่งจะมีที่วางแขน พยาบาลจะนำสายรัดมารัดที่บริเวณต้นแขนส่วนบนเพื่อกักการไหลของเลือดในเส้นเลือดดำ วิธีนี้จะช่วยให้พยาบาลสามารถเจาะเลือดได้ง่ายและทำให้เลือดไหลเข้าถุงได้เร็วขึ้น จากนั้นพยาบาลจะสอดเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่บริเวณแขน โดยเข็มจะต่อกับท่อพลาสติกและถุงใส่เลือด ขณะที่บริจาคเลือด พยาบาลอาจนำลูกบอลยางหรืออุปกรณ์ให้ผู้บริจาคกำไว้และคลายเป็นระยะ เนื่องจากจะทำให้เลือดไหลเข้าถุงใส่เลือดได้เร็วขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที เมื่อได้ปริมาณเลือดตามที่กำหนดไว้แล้วก็จะเอาเข็มออก ห้ามเลือด และปิดปากแผลด้วยพลาสเตอร์ และให้ผู้บริจาคนอนพักสักครู่ จึงให้ลุกจากเก้าอี้หรือเตียง

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม? สามารถส่งคำถามได้ที่ support@chapanakij.com

ติดตามข่าวสาร



ติดต่อเรา

support@chapanakij.com

จำนวนผู้เข้าชมเว็บ 14743847 คน



เพิ่มเพื่อน เพิ่มเพื่อน
Line: @chapanakij

© 2023 Chapanakij.com by Asian IT Co.,Ltd. All Right Reserved.